เปรียบเทียบการศึกษาไทย ออสเตรเลีย ระดับมัธยม

การเปรียบเทียบการศึกษาไทย ออสเตรเลียในระดับมัธยมศึกษานับเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะทั้งสองประเทศมีระบบการศึกษาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และวิชาที่เลือกเรียน การทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น

การศึกษาไทยระดับมัธยม

การศึกษาไทยระดับมัธยม

การศึกษาในระดับมัธยมของประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและการประกอบอาชีพในอนาคต โดยแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน

การแบ่งชั้นเรียน

การศึกษาระดับมัธยมในประเทศไทยสายสามัญ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (ป.1-ม.3)​​ และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวมระยะเวลาการศึกษา 6 ปี  โดยนักเรียนจะเริ่มเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี และมัธยมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุประมาณ 15-16 ปี

สำหรับสายอาชีพ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 2 และประกาศนียบัตรวิชาชีพปี 3 จะเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 ม.5 และ ม. 6 ตามลำดับ

รูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนการสอนในไทย

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมด แต่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มักแบ่งการศึกษาออกเป็นกลุ่มสาระต่าง ๆ ตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน หรือที่เราเรียกว่า “สายการเรียน หรือแผนการเรียน” ได้แก่

  • กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (สายวิทย์-คณิต)
  • กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-คณิตศาสตร์ (สายศิลป์-คำนวณ)
  • กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-ภาษา (สายศิลป์-ภาษา)
  • กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ด้าน ศิลปศาสตร์-สังคม (สายศิลป์-สังคม)

ในส่วนของรูปแบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาไทยมักเน้นการเรียนในห้องเรียนแบบบรรยาย โดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และนักเรียนเป็นผู้รับ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น แต่การประเมินผลยังคงให้ความสำคัญกับการสอบและคะแนนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและชมรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทักษะนอกห้องเรียน

ประเภทโรงเรียนมัธยม

แบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง

โดยโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน ก็จะมีแยกย่อยลงไปอีก เช่น โรงเรียนเอกชนหลักสูตรไทย โรงเรียนนานาชาติที่นำเอาหลักสูตรการเรียนของต่างประเทศมาสอน และโรงเรียนเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย หรือโรงเรียนกีฬา แต่ละประเภทมีจุดเด่นและรูปแบบการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน

ภาคการศึกษา

ระบบการศึกษาไทยแบ่งปีการศึกษาออกเป็น 2 ภาคเรียน โดยภาคเรียนที่ 1 เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-กันยายน และภาคเรียนที่ 2 เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม มีช่วงปิดภาคเรียนระหว่างภาคการศึกษาและช่วงปิดภาคฤดูร้อน

วิชาที่เลือกเรียน

หลักสูตรการศึกษาไทยกำหนดให้เรียนวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ในระดับมัธยมปลาย นักเรียนสามารถเลือกแผนการเรียนตามความถนัดและความสนใจ เช่น วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, ศิลป์-ภาษา

วุฒิการศึกษา

เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลายจะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ซึ่งสามารถใช้ในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหรือสมัครงานได้

การศึกษาออสเตรเลีย ระดับมัธยม

การศึกษาออสเตรเลีย ระดับมัธยม

การศึกษาระดับมัธยมในออสเตรเลียมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เนื่องจากแต่ละรัฐมีอำนาจในการจัดการศึกษาของตนเอง ทำให้มีรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป แต่ยังคงมาตรฐานการศึกษาระดับสูงที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ การเปรียบเทียบการศึกษาไทย ออสเตรเลียจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างที่น่าสนใจหลายประการ มาดูรายละเอียดแต่ละส่วนกัน

การแบ่งชั้นเรียน

ระบบการศึกษาออสเตรเลียแบ่งระดับมัธยมศึกษาเป็น 

  • มัธยมศึกษาตอนต้น (Junior Colleges) คือ Year 7 หรือ Year 8 – Year 10
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior Colleges) คือ Year 11 และ Year 12

รูปแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการเรียนการสอนในออสเตรเลีย

การเรียนการสอนในออสเตรเลียเน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการลงมือปฏิบัติ ครูผู้สอนผ่านการรับรองและได้รับการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยและเป็นครูผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ชั้นเรียนมีขนาดเล็ก มีนักเรียนสูงสุดไม่เกิน 30 คนต่อชั้นเรียน เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลงาน การประเมินผลพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ ทั้งการสอบ การทำงาน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

ประเภทโรงเรียนมัธยม

โรงเรียนมัธยมในออสเตรเลียแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • โรงเรียนรัฐบาล อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานการศึกษาของแต่ละรัฐ ส่วนใหญ่เป็นสหศึกษาและเป็นโรงเรียนไปกลับ
  • โรงเรียนเอกชน มาตรฐานหลักสูตรเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล แต่บริหารจัดการโรงเรียนด้วยตัวเอง มีทั้งโรงเรียนสหศึกษา หญิงล้วน และชายล้วน รวมถึงมีทั้งโรงเรียนประจำ และไปกลับ
  • โรงเรียนคาทอลิก หรือโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจากศาสนา บริหารงานโดยองค์กรอิสระร่วมกับโบสถ์ ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนไปกลับ และมีโรงเรียนประจำบ้างในบางเมือง

ภาคการศึกษา

ปีการศึกษาของออสเตรเลียแบ่งเป็น 4 ภาคเรียน เริ่มต้นในเดือนมกราคมและสิ้นสุดในเดือนธันวาคม ดังนี้ 

  • เทอม 1 ปลายเดือนมกราคม – กลางเดือนเมษายน
  • เทอม 2 ปลายเดือนเมษายน – กลางเดือนกรกฎาคม
  • เทอม 3 ปลายเดือนกรกฎาคม – กลางเดือนกันยายน
  • เทอม 4 ปลายเดือนตุลาคม – กลางเดือนธันวาคม

วิชาที่เลือกเรียน

หลักสูตรออสเตรเลียให้อิสระในการเลือกวิชาเรียนมากกว่าไทย โดยเฉพาะในระดับ Year 11-12 นักเรียนสามารถเลือกวิชาตามความสนใจและเป้าหมายการศึกษาต่อ วิชาในระดับมัธยมปลายประกอบด้วย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วรรณคดีอังกฤษ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร เป็นต้น รวมถึงวิชาเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ การละคร และการกีฬา 

โดยทั่วไปนักเรียนจะเลือกเรียน 4-5 วิชาหลัก ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา และเลือกอีก 1-2 วิชาเป็นวิชาเลือก เพราะระดับอุดมศึกษาไม่ได้ใช้ระบบการสอบเข้าเหมือนประเทศไทย แต่จะใช้ผลการเรียน Year 11-12 และผลการสอบปลายภาคเพื่อยื่นสมัครเรียน เช่น ATAR Score หรือ International Baccalaureate (IB) ทั้งนี้ การเลือกวิชาเรียนจะอยู่ในการแนะนำจากเจ้าหน้าที่แนะแนวของโรงเรียน

วุฒิการศึกษา

เมื่อจบการศึกษา Year 12 ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชน จะมีวุฒิการศึกษา หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior Secondary Certificate of Education หรือ SSCE) แยกเป็นของแต่ละรัฐอย่างชัดเจน ดังนี้

  • มณฑลเมืองหลวง Australian Capital Territory : High School Certificate [HSC]
  • รัฐ New South Wales : High School Certificate [HSC]
  • มณฑล Northern Territory : Northern Territory Certificate of Education [NTCE]
  • รัฐ Queensland : Queensland Certificate of Education [QCE]
  • รัฐ South Australia : SACE: South Australian Certificate of Education [SACE]
  • รัฐ Tasmania : Tasmanian Certificate of Education [TCE]
  • รัฐ Victoria : Victoria Certificate of Education [VCE]
  • รัฐ Western Australia : Western Australian Certificate of Education [WACE]

ตารางสรุปความต่างระหว่าง การศึกษาไทย VS ออสเตรเลีย

ประเด็นระบบการศึกษาไทยระบบการศึกษาออสเตรเลีย
การแบ่งชั้นเรียนม.1-6 (6 ปี)Year 7-12 (6 ปี)
ภาคการศึกษา2 ภาคเรียน4 ภาคเรียน 
การเลือกวิชาเรียนจำกัดตามแผนการเรียนยืดหยุ่น เลือกได้หลากหลาย
รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการบรรยาย ท่องจำเน้นการคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ
การประเมินผลเน้นการสอบเป็นหลักหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานเดี่ยว งานกลุ่ม และการสอบ
วุฒิการศึกษาม.3 และ ม.6HSC, VCE, QCE และอื่น ๆ (ขึ้นอยู่กับรัฐ)

สรุปบทความ

การเปรียบเทียบการศึกษาไทย ออสเตรเลียในระดับมัธยมศึกษาแสดงให้เห็นความแตกต่างหลายประการ โดยระบบการศึกษาออสเตรเลียให้อิสระในการเลือกวิชาเรียนและมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านการปฏิบัติจริง ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด และให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นฐานความรู้ที่ครอบคลุม ทั้งสองระบบต่างมีจุดแข็งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน

สำหรับผู้ปกครองและนักเรียนที่สนใจศึกษาต่อในออสเตรเลีย หรือเรียนต่อโรงเรียนต่างประเทศอื่น ๆ CETA พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกโรงเรียน การสมัครเรียน การเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในต่างแดน ตลอดจนจบการศึกษา

CETA เป็นผู้เชี่ยวชาญโครงการ Summer Course โครงการ Short-term และการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่ต่างประเทศ พร้อมประสบการณ์ในวงการศึกษาต่อต่างประเทศมากกว่า 23 ปี สอบถามรายละเอียดโครงการต่าง ๆ จาก CETA ได้ที่